(Department of Electrical and Energy Engineering)
“วิกฤตพลังงาน” นับเป็นประเด็นสำคัญยิ่งสำหรับประเทศไทยการใช้พลังงานของประเทศ อยู่ในระดับต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยภาคธุรกิจและการลงทุนคือการอนุรักษ์ และการประหยัดพลังงาน วิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงานศึกษาการ วางแผน และออกแบบระบบไฟฟ้า การพัฒนาการ ผลิตและการส่งไฟฟ้าแรงสูง การควบคุมระบบไฟฟ้า ในอาคารสถานที่ เพื่อเป็นวิศวกรไฟฟ้ามืออาชีพ
หลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน)

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโลจิสติกส์)
(Department of Logistics Engineering)
ศึกษาวิศวกรรมแนวใหม่เพื่อการลำเลียงในระบบการผลิตและกระจายสินค้า การออกแบบและจัดการระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นวิศวกรด้านโลจิสติกส์โดยเฉพาะ

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์)
(Department of Computer Engineering and Artificial Intelligence)
เรียนรู้เจาะลึกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในเชิงวิศวกรรมการออกแบบระบบและเครือข่ายคอมพิวเตอร์โปรแกรมควบคุมระบบ เพื่อเป็นวิศวกรผู้ดูแลคอมพิวเตอร์

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมนวัตกรรมธุรกิจระบบราง)
(Department of Rail Business Innovation Engineering)
หลักสูตรวิศวกรรมนวัตกรรมธุรกิจระบบรางนี้ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมออกแบบ และจัดการระบบราง มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ ทั้งด้านระบบขนส่งทางราง และ การวางผังเมือง การบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพด้านโลจิสติกส์และกลยุทธ์ การตัดสินใจในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับระบบราง การพัฒนาความรู้ในวิชาการและวิชาชีพด้านวิศวกรรมนวัตกรรมธุรกิจระบบราง

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมนวัตกรรมยานยนต์)
(Department of Automotion Innovation Engineering)
ศึกษาการตลาดยานยนต์ การออกแบบยานยนต์ การจัดหาชิ้นส่วนเพื่อการผลิต อุตสาหกรรมการผลิต การผลิตชิ้นส่วน การวางแผนการผลิต การควบคุมคุณภาพ ไปจนถึงงานขาย การกระจายสินค้า การรับประกัน ไฟแนนซ์ ธุรกิจประกันภัยรถยนต์ การให้บริการและงานซ่อม
หลักสูตรปริญญาตรีภาคพิเศษ (เสาร์ - อาทิตย์)

หลักสูตรปริญญาตรีภาคพิเศษ (เสาร์ - อาทิตย์)
เปิดโอกาสทางการศึกษา ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนทำงาน
“คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดหลักสูตรเรียนเฉพาะวันเสาร์ – อาทิตย์ สำหรับผู้สนใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีแล้ววันนี้”
หลักสูตรที่เปิดสอน
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
วิศวกรรมโลจิสติกส์
วิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน
วิศวกรรมนวัตกรรมธุรกิจระบบราง
วิศวกรรมนวัตกรรมยานยนต์
หลักสูตรปริญญาโท

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการโลจิสติกส์)
นักศึกษาสามารถเรียนรู้จากสาขาวิชาที่หลากหลาย (Interdisciplinary) ทั้งทางด้านการบริหารธุรกิจ และการบริหารงานวิศวกรรมที่ครอบคลุมการแก้ปัญหาทุกจุดขององค์กร พร้อมทั้งเรียนรู้การจำลองการบริหารโซ่อุปทานจริง
การบูรณาการความรู้และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารและวางแผนเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ ตั้งแต่การออกแบบ การจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การเงิน การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้า การตลาด และการบริการลูกค้า
นักศึกษาได้ศึกษาดูงานจากบริษัทและองค์กรชั้นนำภายในประเทศและต่างประเทศ
ประสบการณ์การเรียนด้วยการดำเนินการสอนโดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหาร การผลิต และการบริหารงานโลจิสติกส์ของประเทศ

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการเงิน)
เป็นหลักสูตรแรกที่ประยุกต์ศาสตร์ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีการเงิน –Financial Technology : FINTECH เช่น FinTech Startup Project Design and Management, FinTech Startup Business Modelling and Analysis, Fintech: Technology Innovation in Financial Services, Block Chain Technology, Cloud computing, Information Security in Financial Technology และ เทคโนโลยีการเงินผ่านคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้ สามารถประกอบธุรกิจที่เรียกว่า START UP ภายใต้องค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่ทางหลักสูตรได้สรรสร้างเพื่อผู้เรียนอย่างแท้จริง โดยเรียนจากผู้มีประสบการณ์โดยตรงด้านเทคโนโลยีการเงิน – FINTECH เช่น ผู้ชำนาญการจากธนาคารต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเงิน เป็นต้น
หลักสูตรปริญญาเอก

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โลจิสติกส์)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาโลจิสติกส์ มีความพร้อมที่จะเป็นผู้บริหารที่มีความรู้ สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหา ออกแบบและวางแผนระบบการจัดการโลจิสติกส์สำหรับองค์กรได้ ตลอดจนสามารถควบคุมและวางแผนการดำเนินงานขององค์กรให้สามารถบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงานและสร้างศักยภาพในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เป็นตัวขับเคลื่อน (Logistics Innovation Driven Entrepreneur) โดยมุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถศึกษาค้นคว้าและวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมของประเทศและภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและงานวิจัยทางด้านโลจิสติกส์ชั้นสูงของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับอารยประเทศได้ โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์ (LRDI-UTCC) ที่เป็นแหล่งสนับสนุนข้อมูลผลการศึกษาวิจัยเชิงลึกจากการปฎิบัติจริงของผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ชั้นนำของประเทศ ซึ่งมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการเงิน)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการเงิน (FinTech) ถูกออกแบบมาเพื่อสอดรับกับวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย Thailand 4.0 ในกลุ่มกลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว
หัวหน้าหลักสูตร

ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ มานิตพรสุทธ์
หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
[email protected]
เพิ่มเติม
ซ่อน
คณาจารย์

ผศ.ดร.ณัฏฐชา พฤกษ์กานนท์
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
[email protected]
เพิ่มเติม
ซ่อน

ผศ.ดร.ศุภเชษฐ์ อินทร์เนตร
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
[email protected]
เพิ่มเติม
ซ่อน

ผศ.สุภนันท์ ตันวรรณรักษ์
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
[email protected]
เพิ่มเติม
ซ่อน

ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ มานิตพรสุทธ์
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
[email protected]
เพิ่มเติม
ซ่อน

ดร.ประพันธ์ศักดิ์ บูรณะประภา
สาขาวิชาวิศวกรรมการนวัตกรรมธุรกิจระบบราง
[email protected]
เพิ่มเติม
ซ่อน