คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
สาขา คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นสาขาเก่าแก่เป็นอันดับที่สองในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และได้ปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง
เรา เน้นการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรที่สร้างบัณฑิตให้มีความแตกต่าง นอกจากจะเสริมในเรื่องของความผู้ประกอบการแล้ว ในปัจจุบัน เราออกแบบหลักสูตรให้นักศึกษามีความรู้ในศาสตร์ทางด้าน FinTech และพร้อมจะเป็นผู้ประกอบการ เข้าสู่วงการ Startup ได้ทันที นักศึกษาของหลักสูตรนี้ จึงถูกหล่อหลอมให้เป็นผู้ตื่นตัว ใฝ่รู้ และพร้อมที่จะสร้างความแตกต่างในอนาคต ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และธุรกิจ
มี พี่ๆ ศิษย์เก่าที่ทำงานอยู่ในวงการ การเงิน การธนาคาร บริษัทชั้นนำของประเทศ เป็นนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ และอยู่ในวงการ Startup มากมาย ที่พร้อมจะมาบ่มเพาะ และให้คำแนะนำน้องๆ ของเขาตั้งแต่ปีหนึ่งไปจนสำเร็จการศึกษา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังมีศูนย์ Innovation Design Entrepreneur (IDE Center) และเป็นสมาชิกของ eTouch Thailand เราจัดหาสิ่งเหล่านี้เพื่อให้นักศึกษาของเราพร้อมก้าวสู่ตลาดงานอย่างมั่นคง
ความ ต่อเนื่องในการศึกษาและสิ่งแวดล้อมเป็นสากล เป็นสิ่งที่เราตระเตรียมให้กับนักศึกษา ปัจจุบัน เรามีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ทางด้าน FinTech และกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อเปิดหลักสูตรปริญญาเอก ทางด้าน FinTech ซึ่งจะเป็นแห่งแรกและแห่งเดียวที่ดำเนินการเรียนการสอนทางด้าน FinTech ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก นอกจากนี้ เรายังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และมีโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน ทำให้สร้างบรรยากาศทางการเรียนรู้ที่เป็นสากล
แตกต่าง จากการเรียนการสอนทั่วไปเป็นสิ่งที่เราและมหาวิทยาลัยพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาหลายปี เราใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอน นักศึกษาที่เข้าเรียนในหลักสูตร จะได้รับ iPad สำหรับการเรียนการสอนด้วยระบบ Digital Hybrid Learning System ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมมือกับบริษัท Apple เราเชื่อว่า เทคโนโลยีสร้างความแตกต่างให้กับการเรียนการสอน และมีผลต่อการรับรู้ของนักศึกษาในเชิงบวก นอกจากนี้ เรามีทุนการศึกษามากมายจัดเตรียมไว้ให้สำหรับผู้ที่สนใจและขาดแคลน
ชื่อปริญญา
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
- ชื่อสถาบันอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
ชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
- ภาษาอังกฤษ
- Bachelor of Engineering Program in
Computer Engineering and Artificial Intelligence
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม (ไทย)
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์)
- ชื่อย่อ (ไทย)
- วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์)
- ชื่อเต็ม (อังกฤษ)
- Bachelor of Engineering (Computer Engineering and Artificial Intelligence)
- ชื่อย่อ (อังกฤษ)
- B.Eng. (Computer Engineering and Artificial Intelligence)
วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและปฏิบัติการพื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
128 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
ภาษาที่ใช้
การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย เอกสารและตำราในวิชาหลักเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาชาวต่างชาติที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยได้ เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถอ่านหนังสือ เอกสารประกอบการสอนเป็นภาษาอังกฤษได้
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
เหตุผลที่ต้องเลือกหลักสูตรนี้
Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum has been the industry's standard dummy text ever since the 1500s, when an unknown printer took a galley of type and scrambled it to make a type specimen book.
ระยะเวลาในการศึกษา
สำหรับหลักสูตรภาคเรียนปกติ
- 3 ปีครึ่ง - 4 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- 2 ปี - 2 ปีครึ่ง สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และขึ้นอยู่กับการเทียบโอนการศึกษา
สำหรับหลักสูตรนอกเวลาทำการ (เสาร์ - อาทิตย์)
- 3 ปีครึ่ง - 4 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- 2 ปี - 2 ปีครึ่ง สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และขึ้นอยู่กับการเทียบโอนการศึกษา
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรที่ปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์
- วิศวกรออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์
- วิศวกรฝ่ายการวิเคราะห์และการจัดการะบบฐานข้อมูล
- อาชีพอิสระ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในวิชาการแขนงอื่น เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ อาทิ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ฯลฯ วิศวกรคอมพิวเตอร์มักมีฐานความรู้และตรรกศาสตร์ที่แข็งแกร่ง แม่นยำ สามารถศึกษาต่อในวิชาการแขนงหรือสาขาต่างๆได้ไม่ยาก
ประมาณเงินเดือนเริ่มต้น
20,000 ถึง 40,000 บาท
โอกาสในอนาคต
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเป็นที่ต้องการอีกมากมายในหลายสายงาน เช่น วิศวกรควบคุมระบบไฟฟ้า วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่าย ตลอดจนสายอาชีพใหม่ วิศวกรออกแบบและจัดการระบบการขนส่ง วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของธุรกิจอุตสาหกรรมยุคใหม่