ว่าด้วยเรื่องของวิศวกรรมไฟฟ้า
หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปี 2533 บัณฑิตในสาขาวิชาไฟฟ้าที่สำเร็จการศึกษาจากที่นี่ จะมีคุณลักษณะที่โดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่นๆ ดังนี้
- เป็นวิศวกรที่มีความรู้และทักษะทั้งในด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง และ วิศวกรรมพลังงาน สามารถนำหลักการหรือทฤษฎีทั้งสองไปประยุกต์ วิเคราะห์ และวางแผนได้
- เป็นวิศวกรที่มีความรู้และทักษะในด้านการบริหารจัดการ มีความเข้าใจในเชิงธุรกิจและการค้า ด้วยลักษณะโดดเด่นของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่เป็นแหล่งความรู้และวิชาการด้านบริหารธุรกิจ บัญชี และ เศรษฐศาสตร์ และสามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการพลังงาน และระบบไฟฟ้า และเทคโนโยลียานยนต์ไฟฟ้า
ชื่อปริญญา
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ชื่อสถาบันอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- คณะ/ภาควิชา
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อหลักสูตร
- ภาษาไทย
- หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ภาษาอังกฤษ
- Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
- ชื่อเต็ม (ไทย)
- วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า)
- ชื่อย่อ (ไทย)
- วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า)
- ชื่อเต็ม (อังกฤษ)
- Bachelor of Engineering (Electrical Engineering)
- ชื่อย่อ (อังกฤษ)
- B.Eng. (Electrical Engineering)
วิชาเอกหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร
วิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ ความเข้าใจและทักษะที่เกี่ยวกับการนำความรู้พื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์รวมถึงการประยุกต์ความรู้ด้านเทคโนโลยีวิศวกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะองค์ความรู้ทางด้านไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบควบคุมและการวัด และ พลังงานประยุกต์ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับคณิตศาสตร์ประยุกต์ คอมพิวเตอร์ และระบบจำลอง องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับกลศาสตร์ และ องค์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหาร ให้แก่นักศึกษา โดยเป็นการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มุ่งเสริมสร้างศักยภาพให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน และมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกและสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะพึงประสงค์ของสังคม
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนไม่น้อยกว่า 141 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
ประเภทของหลักสูตร
ปริญญาตรีทางวิชาชีพ สาขาวิชาที่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ตามกฎหมายขององค์กรวิชาชีพ
ภาษาที่ใช้
การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย เอกสารและตำราในวิชาหลัก เป็นตำราภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา
การรับนักศึกษาไทยและนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน และเข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและพลังงาน
จุดเด่นของหลักสูตร
- หลักสูตรฯ เป็นวิศวกรรมไฟฟ้าแขนงไฟฟ้ากำลัง กับ พลังงานเครื่องกลด้านความร้อน
- บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพ ไฟฟ้ากำลัง และ พลังงาน
- หลักสูตรฯ ผ่านการรับรองปริญญาจากสภาวิศวกร แขนงไฟฟ้ากำลัง
ความร่วมมือของหลักสูตร (MOU)
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งนากาโอกะ (ประเทศญี่ปุ่น)
- บริษัท นิปปอน เซกิ จำกัด (ประเทศไทย)
- บริษัท จรุงไทยไวร์แอนด์เคเบิ้ล จำกัด (มหาชน)
เหตุผลที่ต้องเลือกหลักสูตรนี้
หลักสูตรไฟฟ้า ได้ประสานความร่วมมือกับ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งนากาโอกะ ประเทศญี่ปุ่น” (Nagaoka University of Technology, JAPAN) ในการส่งนักศึกษาในสาขาวิชาไปศึกษางานโครงการ เพื่อเสริมสร้างความรู้ เปิดโลกทัศน์ และเพิ่มพูนประสบการณ์ ตลอดจนเปิดโอกาสให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอกโดยได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ
ระยะเวลาในการศึกษา
สำหรับหลักสูตรภาคเรียนปกติ
- 3 ปีครึ่ง - 4 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- 2 ปี - 2 ปีครึ่ง สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) (ขึ้นอยู่กับการเทียบโอน)
สำหรับหลักสูตรนอกเวลาทำการ (วันอาทิตย์)
- 2 ปีครึ่ง - 3 ปี สำหรับผู้ทำงานประจำ มีประสบการณ์ทำงาน มากกว่า 2 ปีในสายงานที่เกี่ยวข้อง สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- 2 ปี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) (ขึ้นอยู่กับการเทียบโอน)
อาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา
- วิศวกรที่ปรึกษาด้านระบบไฟฟ้า
- วิศวกรออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
- วิศวกรฝ่ายการตลาดและบริการ
- อาชีพอิสระ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในวิชาการแขนงอื่น เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพ อาทิ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ฯลฯ วิศวกรไฟฟ้ามักมีฐานความรู้ที่แข็งแกร่ง สามารถศึกษาต่อในวิชาการแขนงหรือสาขาต่างๆได้ไม่ยาก
ประมาณเงินเดือนเริ่มต้น
20,000 ถึง 40,000 บาท
โอกาสในอนาคต
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเป็นที่ต้องการอีกมากมายในหลายสายงาน เช่น วิศวกรควบคุมระบบไฟฟ้า วิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่าย ตลอดจนสายอาชีพใหม่ วิศวกรออกแบบและจัดการระบบการขนส่ง วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากของธุรกิจอุตสาหกรรมยุคใหม่