126/1 ซอยวิภาวดีรังสิต 2 แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

งานบริการเพื่อสังคม

สถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้กำเนิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์บริการวิชาการแก่สังคม และเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติแก่อาจารย์ และนักศึกษาในหลักสูตร

โครงการก่อสร้าง
หน่วยงาน
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ปีพุทธศักราช
2552

        ในช่วงที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ยากลำบากในด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับผลพวงจากการขยายตัวและการหดตัวของเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจดีมีการขยายตัวหรือหดตัว กิจกรรมแรกๆที่จะได้รับผลกระทบคือกิจกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมเซรามิกโดยเฉพาะกระเบื้องและสุขภัณฑ์ เป็นต้น บทนี้จะได้กล่าวถึงสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเซรามิก และอุตสาหกรรมก่อสร้าง

วัตถุประสงค์ในการศึกษา

  1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนของอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งได้แก่ เหล็ก เซรามิก และก่อสร้าง ในการจัดทำดัชนีต้นทุนโลจิสติกส์ พร้อมทั้งศึกษาแนวทางในการลดต้นทุน ของอุตสาหกรรมก่อสร้าง
  2. เพื่อกำหนดเป็นเครื่องมือสำหรับศึกษาสถานการณ์และเศรษฐกิจรวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ

สรุปผลการศึกษา

        เศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ การเมืองภายในประเทศและระบบเศรษฐกิจของโลก โดยปัจจัยทางการเมืองส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการค้าและการลงทุนในระดับประเทศ ซึ่งการเมืองปัจจุบันยังไม่มีความเสถียรภาพ การลงทุนในระดับประเทศจึงไม่สามารถขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ และเมื่อพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการเมืองภายในประเทศแล้วเสมือนเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ใหญ่ สำหรับผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับดัชนีชี้วัดต่างๆ ในการใช้เป็นเครื่องมือศึกษาสถานการณ์เศรษฐกิจและวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งได้แก่ดัชนีชี้วัดที่สำคัญ 7 ตัวคือ

  1. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
  2. ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน
  3. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  4. อัตราการใช้กำลังการ
  5. ดัชนีราคา
  6. ดัชนีราคานำเข้า
  7. ดัชนีชี้นำวัฎจักรเงินเฟ้อ

        นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการใช้นโยบายการเงินต่างๆ เช่น ดอกเบี้ย ดุลการชำระเงิน ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลบัญชีเงินทุน เป็นต้น สำหรับการบริหารธุรกิจควรยึดธุรกิจหลักของกิจการไว้ก่อนเป็นลำดับแรก และนำSWOT Analysis มาพิจารณาถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุสรรคี่มีผลต่อกิจการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อกิจการ พร้อมพัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรและการผลติอย่างต่อเนื่อง รักษาฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มช่องทองการค้าใหม่เพื่อความอยู่รอดของกิจการ