126/1 ซอยวิภาวดีรังสิต 2 แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

งานบริการเพื่อสังคม

สถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้กำเนิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นศูนย์บริการวิชาการแก่สังคม และเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและด้านปฏิบัติแก่อาจารย์ และนักศึกษาในหลักสูตร

โครงการพัฒนาระบบกระจายสินค้าและบริการ (Logistics Center) ขององค์การคลังสินค้า
หน่วยงาน
ขอรับทุนวิจัยจากองค์การคลังสินค้า
ปีพุทธศักราช
2538

          เนื่องจากองค์การคลังสินค้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลจิสติกส์ของประเทศและเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการดำเนินงานทางธุรกิจเช่นเดียวกับภาคเอกชนในปัจจุบันได้มีบริษัทเอกชนทั้งที่เป็นของคนไทยและต่างประเทศเข้ามาให้บริการด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจรในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้รัฐวิสาหกิจสามารถมีผลกำไรเลี้ยงดูตนเองได้และมีการแข่งขันกับภาคเอกชนอย่างเป็นธรรม ดังนั้นองค์การคลังสินค้าซึ่งอยู่ในกำกับของกระทรวงพาณิชย์จึงมีนโยบายปรับปรุงการดำเนินงานของคลังสินค้าราษฏร์บูรณะให้มีการจัดการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภาคเอกชนและเป็นทางเลือกให้ประชาชนในการใช้บริการด้านโลจิสติกส์จากการสนับสนุนจากงบประมาณของรัฐ ดังนั้นโครงการนี้จึงเล็งเห็นความสำคัญในการศึกษาเพื่อหารูปแบบความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจขององค์การคลังสินค้าสำ หรับรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และการขนส่งของจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

วัตถุประสงค์ในการศึกษา

  1. เพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจขององค์การคลังสินค้า และเอกชนที่ต้องการจะเป็นพันธมิตรในการร่วมพัฒนา
  2. เพื่อศึกษาทิศทางการไหลของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมในการให้บริการสำหรับคลังสินค้าธนบุรี คลังสินค้าราษฎร์บูรณะ และที่ดินว่างเปล่าร่วมกับภาคเอกชนโครงการพัฒนาระบบกระจายสินค้าและบริการ (Logistics Center) ขององค์การคลังสินค้า
  3. เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของระบบการขนส่งและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆในการจัดส่งสินค้าขององค์การคลังสินค้า และเสนอแนะแนวทางเพื่อรองรับการดำเนินงานซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต
  4. เพื่อศึกษาและกำหนดรูปแบบความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ (Business Model) ให้กับองค์การคลังสินค้า โดยมีการนำเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาในเชิงพาณิชย์
  5. เพื่อปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์การคลังสินค้า

สรุปผลการศึกษา

  • ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร และพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับภารกิจอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง อคส.กับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรและSME ทั่วประเทศ ด้วยเครือข่ายสารสนเทศของ อคส.
  • อบรมให้ความรู้และให้คำปรึกษาด้านโลจิสติกส์ แก่ภาคเกษตรและSME จัดหาวัตถุดิบและบริการบริหารคลังสินค้า รวมทั้งการให้บริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ด้วยการสร้างพันธมิตรกับหน่วยงานที่ให้บริการของภาครัฐและเอกชน
  • บริหารการจัดส่งวัตถุดิบให้แก่กลุ่มเกษตรกรและSME โดย อคส.เป็นผู้รวบรวมข้อมูลความต้องการและจัดกลุ่มวัตถุดิบ เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองในการจัดซื้อวัตถุดิบในปริมาณมาก เพื่อให้ได้ราคาต้นทุนต่ำที่สุด
  • บริหารจัดการส่งวัตถุดิบในเวลาที่ต้องการ และรับสินค้าเพื่อจัดส่งให้แก่ลูกค้าของภาคเกษตรและSME เพื่อลดการวิ่งรถเที่ยวเปล่า
  • เป็นการลดต้นทุนในการผลิตและค่าจัดเก็บให้แก่ภาคประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาลในการเสริมรายได้ให้แก่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง