Blog

เรียนวิศวะ สร้างธุรกิจ วิศวกรไม่ได้มีดีแค่เทคนิค แต่ยังเป็นหัวใจของการสร้างธุรกิจยุคใหม่

เรียนวิศวะ สร้างธุรกิจ วิศวกรไม่ได้มีดีแค่เทคนิค แต่ยังเป็นหัวใจของการสร้างธุรกิจยุคใหม่

เรียนวิศวะ สร้างธุรกิจ วิศวกรไม่ได้มีดีแค่เทคนิค แต่ยังเป็นหัวใจของการสร้างธุรกิจยุคใหม่

Student blog — 24/11/2024

เรียนวิศวะ สร้างธุรกิจ วิศวกรไม่ได้มีดีแค่เทคนิค แต่ยังเป็นหัวใจของการสร้างธุรกิจยุคใหม่

ถ้าพูดถึงคำว่า “วิศวกร” หลายคนอาจนึกถึงภาพของคนทำงานในโรงงาน ควบคุมเครื่องจักร หรือนักออกแบบระบบไฟฟ้าที่แสนซับซ้อน แต่รู้ไหมว่า วิศวกรรมศาสตร์ไม่ได้มีประโยชน์แค่เพียงในโรงงานหรือโครงการก่อสร้างเท่านั้น วันนี้ เราจะมาบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ ว่าการเรียนวิศวะนั้น ไม่ได้จำกัดให้คุณเป็นแค่วิศวกร แต่ยังเป็นทางผ่านสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจที่มีโอกาสสร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนธุรกิจสมัยใหม่ได้แบบไม่มีข้อจำกัด!
หากพูดถึงนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า พวกเขาหลายคนมีพื้นฐานจากสายวิศวกรรมศาสตร์ คนดังอย่าง อีลอน มัสก์ (Elon Musk)ผู้ก่อตั้ง Tesla และ SpaceX, เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos) แห่ง Amazon, แลร์รี่ เพจ (Larry Page) และ เซอร์เจย์ บริน (Sergey Brin) ผู้ก่อตั้ง Google หรือ แม้กระทั่ง เจ้าพ่อโลก IT อย่าง บิล เกตส์ (Bill Gate)แห่ง Microsoft และ ทอมคุก (Tom Cook) แห่ง Apple ล้วนเคยเรียนด้านวิศวกรรมมาก่อน แม้กระทั่งนักธุรกิจในไทยเอง ไม่ว่าจะเป็น สารัชถ์ รัตนาวะดี แห่ง กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ อนันต์ อัศวโภคิน เจ้าพ่อวงการอสังหา อย่างแลนด์แอนด์เฮ้าส์ รวมถึง นักธุรกิจรุ้นใหม่ยัง ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ผู้ก่อตั้ง Ookbee แพลตฟอร์มอีบุ๊กและคอนเทนต์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก็ล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากการเรียนในสายวิศกรรมศาสตร์ทั้งสิ้น

แล้วทำไมวิศวกรถึงสามารถก้าวเข้ามาสร้างธุรกิจระดับโลกได้? วันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงสิ่งที่การเรียนวิศวะ มอบให้ นอกเหนือจากทักษะทางเทคนิคที่คนส่วนใหญ่นึกถึง

ทำไมวิศวกรถึงเป็นสุดยอดนักธุรกิจ?
1. ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และการแก้ปัญหา

วิศวกรผ่านการฝึกคิดเชิงระบบและวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีเหตุมีผล ทำให้วิศวกรมีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และวางแผนอย่างเป็นระบบ และเมื่อทักษะนี้มาอยู่ในโลกธุรกิจ วิศวกรจึงสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้แบบตรงจุด

2. วิศวกรคือ “นักออกแบบ” ที่ไม่หยุดสร้างสรรค์

วิศวกรจะไม่หยุดเพียงแค่แก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น แต่พวกเขายังมีมุมมองที่จะพัฒนาและปรับปรุงสิ่งใหม่เสมอ การคิดแบบนี้ทำให้วิศวกรหลายคนกลายเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วในตลาด เช่น อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ที่เปลี่ยนจากวิศวกรผู้หลงใหลในเทคโนโลยี มาเป็นผู้ก่อตั้ง Tesla และ SpaceX

3. ความเข้าใจเทคโนโลยี คือพลังที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจยุคดิจิทัล

ในยุคที่ธุรกิจทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี การมีพื้นฐานด้านวิศวกรรมช่วยให้พวกเขาเข้าใจและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจได้ เช่น มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) เจ้าของ Facebook หรือ แลร์รี่ เพจ (Larry Page) และ เซอร์เจย์ บริน (Sergey Brin) ผู้ก่อตั้ง Google ที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์พัฒนาแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงผู้คนทั่วโลก

วิศวะ + ธุรกิจ = สูตรลัดสู่ความสำเร็จ

การเรียนวิศวกรรมศาสตร์มอบข้อได้เปรียบสำคัญในโลกธุรกิจ โดยเฉพาะในยุคที่ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี วิศวกรมีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการเข้าใจระบบอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อวิศวกรมีความรู้ทางธุรกิจ เช่น การตลาด การเงิน และการบริหารจัดการประกอบเข้าไปด้วยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะยิ่งช่วย “เร่งสปีด” สู่ความสำเร็จ เพราะพวกเขาไม่เพียงแค่เข้าใจเทคโนโลยี แต่ยังรู้วิธีทำให้มันเติบโตเป็นธุรกิจจริงได้อีกด้วย

วิศวะเป็นใบเบิกทาง ความรู้ธุรกิจคือแรงขับเคลื่อน

ดังนั้น การเรียนวิศวะจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีพลัง และหากมีการเรียนรู้ทักษะธุรกิจประกอบไปด้วย จะยิ่งช่วยให้การก้าวสู่การเป็นนักธุรกิจระดับแนวหน้าเป็นไปได้เร็วขึ้น คิดค้นสิ่งใหม่ นำเสนอไอเดีย และสร้างองค์กรที่มีคุณค่าในตลาดได้อย่างแท้จริง

บทความอื่นๆ

แสดงเพิ่มเติม

ยังไม่มีบทความอื่นๆ