126/1 ซอยวิภาวดีรังสิต 2 แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

การประกันคุณภาพการศึกษา

ระบบการบริหารจัดการที่กำกับขบวนการดำเนินงาน (การผลิต การบริการ) เพื่อให้เกิดความมั่นใจและรับรองได้ว่าผลและ/ผลลัพธ์ จากการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ นั่นหมายความว่า ประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อ “สร้างความมั่นใจให้ผู้เกี่ยวข้อง (ผู้ปกครอง นักศึกษำ ประชาชนทั่วไป) ว่าผู้จบการศึกษาจะมีคุณภาพตามที่ต้องการ”

วัตถุประสงค์ในการประกันคุณภาพ

  1. เพื่อสร้าง ความพึงพอใจ (Satisfaction) และ ความมั่นใจ (Asssurance) ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders)
  2. เพื่อความอยู่รอด และการเติบโตอย่างยั่งยืน (Survival and Sustained Growth) ภายใต้สภาวะการแข่งขันที่กำลังทวีความรุนแรงกว่าที่เคยเกิดในอดีต
  3. เพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิต (Quality of Life) ของบุคลากร

สร้างความเข้าใจ

การประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 2 ส่วนที่สำคัญ คือ การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก โดยมีรายละเอียดดังนี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

มีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล และพัฒนาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และ เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ โดยคณะวิชาจะต้องดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในเป็นประจำทุกปี

การประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก

มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล และพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพ และจะดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาทุกๆ 5 ปี

ผู้เกี่ยวข้องกับคุณภาพ

ความจำเป็น

  • โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผลกระทบต่อคุณภาพของคน
  • ความหลากหลายในคุณภาพของสถานศึกษา การแขง่ขันกันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ความจำเป็นทจี่ะต้องสร้างองค์ความรู้ให้เป็นสากล เพื่อการยอมรับจากนานาชาติ
  • สร้างความมั่นใจให้แก่สังคมว่า สามารถผลิตคนที่มีคุณภาพ
  • เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะที่เป็นประโยชนแ์ก่ผู้เรียน ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาลและประชาชนทั่วไป
  • ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหง่ชาติ

ผู้ได้ประโยชน์

  • นักศึกษา: เป็นคนดี มีคุณภาพ มีความรู้ มีงานทำมีเงินเดอืนตามเกณฑ์ มีความสุข
  • ผู้ปกครอง: ไว้วางใจในสถาบันที่จะให้ลูกหลานเข้าศึกษา
  • ผู้ประกอบการ/นายจ้าง: ได้บุคลากรที่ดี มีความรู้ ความสามารถตรงตามต้องการ กิจการประสบผลสำเร็จ ได้กำไร ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการที่มีคุณภาพ ผู้ได้ประโยชน์จากการประกันคุณภาพ
  • ประชาชน/สังคม/รัฐบาล: ได้ทรัพยากรบุคคลทมี่ีคุณภาพได้องค์ความรู้ จากงานวิจัยที่เป็นผลผลิตจากสถาบันการศึกษา
  • มหาวิทยาลัย: ได้ชื่อเสียง ดำรงอยู่ได้

นักศึกษากับการประกันคุณภาพ

ทุกคนต้องเข้าใจในเรื่องคุณภาพในทิศทาง เดียวกันทั้งในเรื่องความจำเป็น ประเด็น เนื้อหา สาระ รวมทั้งเกณฑ์มาตรฐานในการประเมิน

ด้านคุณภาพบัณฑิตตามเกณฑ์
  • การมีงานทำและการประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
  • บัณฑิตได้รับเงินเดือนตามเกณฑ์
  • ได้รับความพึงพอใจจากนายจ้าง ผู้ประกอบการและผู้ใช้บัณฑิต
  • การได้รับรางวัลหรือการประกาศเกียรติคุณยกย่องในด้านวิชาการวิชาชีพ คุณธรรม ฯลฯ ในระดับชาติหรือนานาชาติ
  • การมีงานทำและการประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
  • การมีงานทำและการประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
ด้านการเรียนการสอน
  • ศึกษาหลักสูตรรายวิชาเพื่อวางแผนการเรียนที่มีคุณภาพ
  • ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย / ของคณะหรือของภาควิชาตรวจสอบตนเองและ มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง
  • ประเมินการสอนของอาจารย์ด้วยความจริงใจ ตรงตามความเป็น จริงเพื่อนำสู่การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน
  • ประเมินประสบการณ์ที่ได้รับเพื่อการพัฒนา
  • ร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมวิชาการ
ด้านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
  • สร้างองค์กรนักศึกษาที่เข้มแขง็ เพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นระบบโดยมีการวางแผน (P) การดำเนินการ (D) การตรวจสอบ ( C) และการนำผลการตรวจสอบไปสู่การปรับปรุงและพัฒนา (A) อันจะนำไปสู่การพัฒนา คุณลักษณะบณัฑิตที่พงึประสงค์
  • เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ขององค์การนักศึกษาตลอดจนชมรมต่างๆ จัดขึ้น
  • เสนอความตอ้งการของตนเองเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษาโดยความสุจริตใจ
  • มีส่วนในการประเมินบริการต่าง ๆ ที่สถาบันจัดให้อย่างจริงใจ ตรงตาม ความเป็นจริง
ด้านการวิจัย
  • ให้ความร่วมมือในการวิจัยของอาจารย์และของสถาบัน
  • ร่วมสร้างผลงานและนวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการศึกษาวิจัยหรือการใช้กระบวนการวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
ด้านการบริการวิชาการ
  • ดำเนินกิจกรรมชมรมทางด้านวิชาการและเผยแพร่บริการวิชาการแก่ชุมชน
  • ร่วมกิจกรรมบริการวิชาการของสถาบัน
  • พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองจากการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การให้บริการแก่ชุมชน
ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • ดำรงตนไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม
  • ร่วมกิจกรรมและเผยแพร่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของคณะ มหาวิทยาลัยและสังคม
  • แนะนำตักเตือนเพื่อนร่วมสถาบันในอันที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงาม
ด้านการประกันคุณภาพภายใน
  • รวมกลุ่มกันจัดตั้งองค์กร ชมรมนักศึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายในการร่วม ติดตาม รับรู้การดำเนินงานประกันคุณภาพและสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการประกันคุณภาพของคณะและมหาวิทยาลัยเพื่อความเข้มแข็งเชิงคุณภาพของสถาบัน อันจะนำมาซึ่งประโยชนต์่อนักศึกษา อย่างแท้จริง
  • นำระบบประกันคุณภาพ “PDCA” ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ หรือ การผลติผลงาน นวัตกรรมการเรียนรู้ของตนเอง

จุดเริ่มต้น

ทักษะที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา

ทักษะสำคัญและจำเป็นสำหรับการดำเนินการด้านประกันคุณภาพการศึกษาของ นักศึกษา ได้แก่ กระบวนการ PDCA ซึ่งได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1950 โดยศาสตราจารย์ ดับบลิว เอ็ดวาร์ด เดมมิ่ง (W.Edwards Deming) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณภาพ ทำให้กระบวนการ PDCA ได้รับการเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “วงจรเดมมิ่ง”

กระบวนการ PDCA นี้ นอกจากจะใช้สำหรับการจัดกิจกรรมนักศึกษาแล้วยัง สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้กับการทำงานในอนาคตภายหลังจากนักศึกษา สำเร็จการศึกษา เพื่อพัฒนาชีวิตและการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้

กระบวนการ PDCA ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่

  1. P คือ การวางแผน (Plan)
  2. D คือ การลงมือปฏิบัติ (Do)
  3. C คือ การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check)
  4. A คือ การปรับปรุงแก้ไข / พัฒนา (Act)

ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการวางแผน (Plan)

การวางแผนเป็นขั้นตอนเริ่มต้นในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ต่าง ๆ และนับเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากหากการวางแผนเกิดความผิดพลาดแล้วการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป ก็จะเกิดความยากลำบากและก่อให้เกิดความเสียหาย

สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาในการดำเนินการวางแผน ได้แก่

  • การกำหนดหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์ที่ต้องการของ กิจกรรม/โครงการต้องมีความชัดเจน
  • มีการกำหนดเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรม / โครงการที่ชัดเจน สามารถวัดได้ ทั้งนี้ เป้าหมายหรือตัวชี้วัดความสำเร็จนั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ และ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
  • มีการกำหนดวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาในการวางแผนดำเนินงานคือการ กำหนดตามหลัก 5W 1H คือ
  1. What (จะดำเนินการอะไร)
  2. Where (จะดำเนินการที่ไหน)
  3. When (จะดำเนินการเมื่อไร)
  4. Who (จะดำเนินการโดยใคร
  5. Why (จะดำเนินการทำไม)
  6. How (จะดำเนินการอย่างไร)

ขั้นตอนการลงมือปฏิบัติ (Do)

ลงมือปฏิบัติตามกิจกรรม / โครงการที่กำหนดเอาไว้ โดยต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้

  • ทำการศึกษาแผนการดำเนินงานที่วางไว้ ในแต่ละขั้นตอนและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
  • ลงมือปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้โดยไม่ข้ามขั้นตอน

ขั้นตอนการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check)

เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรม/โครงการ รวมทั้งประเมินผลความสำเร็จของการปฏิบัติงานตามแผนงาน กิจกรรม/โครงการ ที่กำหนดเอาไว้ เพื่อตรวจสอบว่างานตรงไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และตรวจสอบว่าเกิดปัญหาหรืออุปสรรค หรือมีแนวทางการดำเนินงานที่ดี อย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข / พัฒนา (Act)

ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ PDCA และเป็นการก่อกำเนิดขึ้นตอนแรก คือการวางแผนการดำเนินกิจกรรม / โครงการในครั้งต่อไป โดยนำผลจากการตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงานตาม กิจกรรม/โครงการ มาพิจารณาว่ามีปัญหาและอุปสรรคตรงจุดใดของ การดำเนินการบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิม ในการจัดทำกิจกรรม/ โครงการในครั้งต่อไป


นักศึกษานั้น นับเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพราะหากระบบดำเนินกำรของสถาบันการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่าไร นักศึกษาซึ่งเป็นผู้รับบริการด้านการศึกษา ก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่ำนั้น นอกจากนี้ หำกผลการประเมินคุณภาพกำรศึกษาของ สถาบันการศึกษาอยู่ในระดับสูงมากเท่าไร บริษัท องค์กร และหน่วยงานภายนอก ก็จะให้การยอมรับมากขึ้นเช่นกัน

บทบาทของนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา

นักศึกษาถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย 4 ประการ คือ

  1. การจัดการเรียนการสอน
  2. การวิจัย
  3. การบริการทางวิชาการแก่สังคม
  4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ซึ่งการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยส่งผลโดยตรงต่อนักศึกษา ดังนั้นนักศึกษาจึงควรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้แนะนำบทบาทนักศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้

  1. บทบาทในการให้ความร่วมมือให้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานประกัน คุณภาพการศึกษาด้วยการให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมาให้ข้อเท็จจริงมากที่สุด เพื่อให้ ข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้เป็นประโยชน์ในการ นำมาใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่อไป
  2. บทบาทในการรับรู้ ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะหรือให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ ระบบการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย เป็นส่วนที่นักศึกษาพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการ พัฒนาระบบการประเมินในฐานะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการจัดการศึกษาของ มหาวิทยาลัย บทบาทของนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. บทบาทในการศึกษา ติดตาม กำกับว่าข้อมูลที่ให้ไปมีการนำไปปรับปรุงหรือใช้ประโยชน์ จากการประเมินหรือไม่อย่างไร โดยติดตามผลการดำเนินงานประกันคุณภาพของ มหาวิทยาลัยทั้งในภาพรวมและในส่วนองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง และมีผลต่อนักศึกษา โดยตรง เช่น องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน องค์ประกอบด้านกิจกรรมพัฒนานักศึกษา องค์ประกอบด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม องค์ประกอบด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม หรือองค์ประกอบด้านระบบและกลไกการประกันคุณภาพ นักศึกษาควรศึกษาว่าทางมหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการตามองค์ประกอบเหล่านั้น อย่างไร มีจุดแข็งที่ต้องเสริมจุดอ่อน ที่ควรแก้ไขในด้านใดบ้าง มีกระบวนการใดที่เป็นแนว ปฏิบัติที่ดีที่ดำเนินการแล้วส่งผลให้คุณภาพการจัดการศึกษาดีขึ้น ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อ คุณภาพของบัณฑิต
  4. บทบาทในการสนับสนุนให้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยดำเนิน ไปได้ โดยนักศึกษาสามารถแสดงบทบาทในการส่งเสริมมหาวิทยาลัยได้หลายรูปแบบ อาทิ
    • การรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งองค์กรนักศึกษาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกัน คุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
    • เผยแพร่และเชิญชวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญใน การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
    • สร้างเครือข่ายในการร่วมกันติดตามรับรู้การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
    • สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์และโลก ทัศน์การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานด้านประกัน คุณภาพ มีความเข้มแข็งและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่นักศึกษาต่อไป
  5. บทบาทในการนำความรู้และทักษะด้านการประกันคุณภาพ ไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาตนเองพัฒนางานกิจกรรมนกัศึกษา เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานกิจการ นักศึกษา พ.ศ. 2541 มีการกำกับ ตดิตามและประเมินคุณภาพ การดำเนินงาน กิจกรรมของนักศึกษา โดยอย่างน้อยต้องดำเนินการ 5 ประเภท คือ
    1. กิจกรรมวิชาการ
    2. กิจกรรมกีฬาและการส่งเสริมสุขภาพ
    3. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
    4. กิจกรรมนนัทนาการ
    5. กิจกรรมส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี (3D) ของ รัฐบาล ซึ่งกำหนดกิจกรรมเอาไว้ 3 ประเภท ได้แก่

  1. กิจกรรมด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย (DEMOCRACY)
  2. กิจกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม (DECENCY)
  3. กิจกรรมด้านการสร้างภมูิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (DRUG- FREE)

หมายเหตุ ทั้งนี้ นักศึกษาสามารถที่จะนำกิจกรรมทั้ง 3 ข้อ ตามนโยบายของสถานศึกษา 3 ดี บูรณาการหรือผสมผสานเข้ากับการจัดกิจกรรม 5 ประเภท ตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาได้ด้วย

การจัดกิจกรรมของนักศึกษาทุกกิจกรรมต้องจัดทำข้อเสนอโครงการให้ผู้รับผิดชอบ อนุมัติ (อาจารย์ที่ปรึกษา ฝ่ายกิจการนักศึกษาของคณะวิชา หรือกองกิจการนักศึกษาของ มหาวิทยาลัย) โดยในโครงการควรมีคำอธิบายเกี่ยวกับระบบประกันคุณภาพที่ใช้ในการจัด กิจกรรม ประกอบด้วยสาระสำคัญ ได้แก่

  1. วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
  2. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของกิจกรรมที่จัด
  3. ลักษณะของกิจกรรม
  4. กลุ่มเป้าหมาย
  5. วิธีการประเมินผลความสำเร็จของการจัดกิจกรรม

ทั้งนี้ เมื่อมีการดำเนินโครงการ/กิจกรรมเสร็จสิ้นแล้วต้องมีการติดตามประเมินผลการ ดำเนินงานของกิจกรรม และนำผลการประเมินโครงการ / กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปก่อน หน้านี้มาใช้ประกอบการจัดทำโครงการ / กิจกรรมใหม่

อาจารย์ ดร.เอกธิป สุขวารี