126/1 ซอยวิภาวดีรังสิต 2 แขวงรัชดาภิเษก เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400

คำถามที่นักศึกษาต้องรู้

คำถามนักศึกษาที่พบบ่อย และนักศึกษาทุกคนควรจะต้องรู้ อ่านและทำความเข้าใจเพื่อปฏิบัติอย่างถูกต้อง

การลงทะเบียน

  1. นักศึกษาปกติ จะต้องลงทะเบียนศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาปกติไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต
  2. สำหรับภาคฤดูร้อน จะลงทะเบียนได้ไม่เกิน 10 หน่วยกิต

หมายเหตุ: นักศึกษา “ปกติ” คือ นักศึกษาที่สอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00

  1. นักศึกษาวิทยาทัณฑ์ จะต้องลงทะเบียนศึกษาในภาคการศึกษาปกติไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 16 หน่วยกิต
  2. สำหรับภาคฤดูร้อน จะลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 หน่วยกิต
  3. นักศึกษาอาจจะยื่น คำร้องขออนุมัติจากคณบดี เพื่อลงทะเบียนศึกษา มากกว่าที่กำหนดไว้ได้อีกไม่เกิน 3 หน่วยกิต ทั้งภาคปกติและฤดูร้อน

หมายเหตุ: นักศึกษา “วิทยาทัณฑ์” คือ นักศึกษาที่สอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00

นักศึกษาต้องขอคำร้องขอลงทะเบียนเกินได้ที่แผนกบริการ สำนักทะเบียนฯ โดยนำคำร้องที่ได้รับไปขออนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา และคณบดี เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้นำมายื่นที่สำนักทะเบียนฯ ก่อนการลงทะเบียน (กรณีหน่วยกิตเกิน อาจารย์อาจจะอนุโลมให้นักศึกษาด้วยสาเหตุที่ว่า นักศึกษาจะต้องจบในปีนั้น เป็นต้น) (อาจารย์ที่ปรึกษาควรตรวจสอบรายละเอียด ระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง และเหตุผลในการขอลงทะเบียนเกินกำหนดของนักศึกษา และพิจารณาถึงความเหมาะสมและความสามารถในการเรียนของนักศึกษาคนนั้นๆด้วย)

หมายเหตุ: นักศึกษา “วิทยาทัณฑ์” คือ นักศึกษาที่สอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00

การลงทะเบียนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ถ้ามีวิชาใดวิชาหนึ่งที่ต้องศึกษาก่อน (Prerequisite)ซึ่งได้กำหนดไว้ในหลักสูตร นักศึกษาจะต้องศึกษาวิชาที่ต้องศึกษาก่อน หรือสอบวิชาที่ต้องศึกษาก่อนให้ได้ หรือได้รับอนุมัติจากคณบดีเป็นกรณีพิเศษ จึงจะมีสิทธิลงทะเบียนวิชานั้นๆ หมายเหตุ: การเทียบฐานะชั้นปีของนักศึกษา

  1. นักศึกษาที่สอบได้ต่ำกว่า 33 หน่วยกิต ให้เทียบฐานะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1
  2. นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่ 33 หน่วยกิตขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 66 หน่วยกิต ให้เทียบฐานะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2
  3. นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่ 66 หน่วยกิตขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 99 หน่วยกิต ให้เทียบฐานะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3
  4. นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่ 99 หน่วยกิตขึ้นไป ให้เทียบฐานะเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4

หมายเหตุ: นักศึกษา “วิทยาทัณฑ์” คือ นักศึกษาที่สอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00

นักศึกษาสามารถลงทะเบียนวิชาที่ต่อจากวิชานั้นได้ เช่น หากนักศึกษาติด  F วิชา Math I นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนต่อวิชา MATH II ได้ เป็นต้น เนื่องจากถือว่านักศึกษาได้เคยศึกษาวิชานั้นมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม การที่นักศึกษาติด F นักศึกษา(อาจ)ต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำ ซึ่งหลักการลงทะเบียนเรียนซ้ำมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. นักศึกษาที่สอบตกวิชาบังคับ จะต้องลงทะเบียนศึกษาวิชานั้นซ้ำอีกจนกว่าจะสอบได้
  2. นักศึกษาที่สอบตกในวิชาเลือก จะต้องลงทะเบียนวิชานั้นซ้ำอีก หรือ เลือกศึกษาวิชาอื่นแทนก็ได้
  3. นักศึกษาจะศึกษาซ้ำวิชาได้เฉพาะวิชาที่สอบได้ลำดับขั้นไม่สูงกว่า D+ เท่านั้น

หมายเหตุ: นักศึกษา “วิทยาทัณฑ์” คือ นักศึกษาที่สอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00

นักศึกษาไม่สามารถลงทะเบียนวิชาที่ต่อจากวิชานั้นได้ เนื่องจากถือว่านักศึกษายังไม่ผ่านวิชาที่ต้องการศึกษาก่อน (Prerequisite)

ไม่ได้ หากวิชาใดที่มีเงื่อนไขว่า “สอบผ่าน”ในวิชานั้นๆ เช่น  ถ้าในแผนการเรียนระบุเงื่อนไขว่า ‘“สอบผ่าน XX001” นักศึกษาจะต้องสอบให้ผ่านวิชา XX001 ก่อนถึงจะสามารถลงทะเบียนวิชา XX002 ต่อได้ เป็นต้น

วันและเวลาเรียนซ้อนกัน นักศึกษาจะต้องเลือกเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น โดยนักศึกษาควรเลือกลงทะเบียนวิชาที่มีผลต่อแผนการเรียนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นนักศึกษาจะไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ เพราะระบบจะตรวจสอบเรื่องวัน/เวลาเรียน/เวลาสอบซ้อนกัน

ปกติระบบลงทะเบียนออนไลน์ของสำนักทะเบียนฯ จะไม่อนุญาตให้นักศึกษาดำเนินการลงทะเบียนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นต้องแนะนำให้นักศึกษาติดต่อเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบจัดห้องสอบว่าสามารถเลื่อนได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ขออนุญาตสอบนอกตาราง แล้วเขียนคำร้องเพื่อขออนุมัติต่อไป (ในกรณีที่ไม่สามารถเลื่อนตารางสอบได้)

มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้มีการลงทะเบียนศึกษาวิชาต่างๆ ในต้นภาคการศึกษา นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนในเวลาที่กำหนดจะไม่มีสิทธิเข้าเรียนในภาคการศึกษานั้น ดังนั้นนักศึกษาต้องดำเนินการตามกรณีดังต่อไปนี้

  1. กรณีที่ 1 ชำระเงินค่าปรับ: หลังจากนักศึกษาชำระเงินค่าปรับ นักศึกษาจะสามารถลงทะเบียนได้ตามปกติ (โดยปกติการชำระเงินค่าลงทะเบียนล่าช้า จะต้องชำระค่าปรับวันละ 100 บาท นับจากวันที่เกินกำหนดชำระเงินตามปฏิทินการศึกษาถึงวันที่นำเงินมาชำระ สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท)
  2. กรณีที่ 2 เขียนคำร้องขอยกเว้นค่าปรับ : นักศึกษาต้องมีเหตุจำเป็นสุดวิสัย และได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนได้เป็นกรณีพิเศษจากคณบดี

มหาวิทยาลัยจะกำหนดให้มีการลงทะเบียนศึกษาวิชาต่างๆ ในต้นภาคการศึกษา นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนในเวลาที่กำหนดจะไม่มีสิทธิเข้าเรียนในภาคการศึกษานั้น ดังนั้นนักศึกษาต้องดำเนินการตามกรณีดังต่อไปนี้

  1. ให้นักศึกษาขอคำร้องขอลงทะเบียนข้ามคณะ ที่แผนกบริการ/รับลงทะเบียน สำนักทะเบียนและประมวลผล อาคาร 1 ชั้น 1
  2. พบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำ กรอกรายละเอียดในคำร้องให้ชัดเจน และขออนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีที่นักศึกษาสังกัด โดยนักศึกษาจะต้องนำหลักฐานเอกสารรายวิชาที่นักศึกษาสามารถลงให้มาให้ที่ปรึกษา
  3. ขออนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาต้องการลงทะเบียนข้ามคณะ
  4. ส่งคำร้องที่ได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ปรึกษา และคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัดและคณบดีคณะที่นักศึกษาต้องการลงทะเบียนเรียนข้ามคณะ ยื่นที่แผนกบริการ/รับลงทะเบียน สำนักทะเบียนและประมวลผล อาคาร 1 ชั้น 1

ในวันเพิกถอนนี้ นักศึกษาสามารถเปลี่ยนกลุ่มเรียนของแต่ละรายวิชา ผ่านระบบบริการการศึกษาได้เลย

การเพิ่มและเพิกถอนรายวิชา

1. การขอเพิ่มรายวิชา นักศึกษาต้องดำเนินการเมื่อใด และต้องพิจารณาจำนวนหน่วยกิตอย่างไร

การขอเพิ่มวิชาจะกระทำได้ภายใน 3 สัปดาห์ นับแต่วันเปิดภาคเรียนของภาคการศึกษาปกติ หรือภายใน 1 สัปดาห์นับแต่วันเปิดภาคการศึกษาของภาคฤดูร้อน โดยได้รับอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยพิจารณาจากจำนวนหน่วยกิต ดังกรณีต่อไปนี้

กรณีที่ 1: นักศึกษาปกติ จะต้องลงทะเบียนศึกษา

  1. ในแต่ละภาคการศึกษา ปกติไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 22 หน่วยกิต
  2. สำหรับ ภาคฤดูร้อน จะลงทะเบียนได้ไม่เกิน 10 หน่วยกิต

กรณีที่ 2: นักศึกษาวิทยาทัณฑ์ จะต้องลงทะเบียนศึกษา

  1. ในภาคการศึกษา ปกติ ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 16 หน่วยกิต
  2. สำหรับ ภาคฤดูร้อน จะลงทะเบียนได้ไม่เกิน 7 หน่วยกิต

นักศึกษาอาจจะยื่น คำร้องขออนุมัติจากคณบดี เพื่อลงทะเบียนศึกษา มากกว่าที่กำหนดไว้ได้อีกไม่เกิน 3 หน่วยกิต ทั้งภาคปกติและฤดูร้อน

การขอเพิกถอนวิชา มีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง จะต้องมีการบันทึก สัญลักษณ์ W ในกรณีใดการขอเพิกถอนวิชาต้องได้รับอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดย

  1. กรณีที่ 1 (Drop): ถ้าขอเพิกถอนภายใน 3 สัปดาห์ นับแต่วันเปิดภาคเรียนของภาคการศึกษาปกติ หรือภายใน 1 สัปดาห์นับแต่วันเปิดภาคการศึกษาของภาคฤดูร้อน วิชาที่ขอเพิกถอนนั้นจะไม่บันทึกสัญลักษณ์ W ในใบแสดงผลการศึกษา (Transcript)
  2. กรณีที่ 2 (Withdrawn): ถ้าขอเพิกถอนในสัปดาห์ที่ 13 ของภาคการศึกษา หรือในสัปดาห์ที่ 6 ของภาคฤดูร้อน นับตั้งแต่วันเปิดภาคการศึกษาวิชา ที่ขอเพิกถอนนั้น จะบันทึกสัญลักษณ์ W ในใบแสดงผลการศึกษา (Transcript)

การพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา

  1. นักศึกษาสอบได้แต้มเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 1.50 ในแต่ละภาคการศึกษาปกติ จะถูกพ้นสภาพนักศึกษา ยกเว้นนักศึกษาที่เข้าศึกษาเป็นภาคแรก
  2. นักศึกษาสอบได้แต้มเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 1.75 เป็นเวลา 2 ภาคการศึกษาปกติติดต่อกัน จะถูกพ้นสภาพนักศึกษา ทั้งนี้ไม่นับภาคการศึกษาแรก
  3. นักศึกษาภาคปกติที่มีระยะเวลาการศึกษาครบ 16 ภาคการศึกษาปกติหรือเทียบเท่า แต่สอบได้หน่วยกิตยังไม่ครบตามหลักสูตรหรือได้แต้มเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.00 จะถูกพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
  1. สำหรับใน ปีการศึกษาแรก นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต และได้แต้มเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.00 มิเช่นนั้นจะถูกพ้นสภาพเป็นนักศึกษาทันที
  2. สำหรับใน ปีการศึกษาถัดไป จะเป็นไปตามระเบียบเดียวกันกับนักศึกษาทั่วไป คือต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 1.50 มิเช่นนั้นจะถูกพ้นสภาพเป็นนักศึกษาทันที

การขออนุมัติปริญญา

1. นักศึกษาที่จะได้รับอนุมัติปริญญาจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

นักศึกษาต้องสอบไล่ได้จำนวนหน่วยกิตครบตามหลักสูตรภายในระยะเวลาการศึกษาที่กำหนดไว้ และได้แต้มเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 โดยมีระยะเวลาการศึกษาตามเกณฑ์ดังนี้

  • ภาคปกติ นักศึกษาต้องศึกษามีกำหนดระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 ภาคการศึกษาปกติหรือเทียบเท่า และอย่างมากไม่เกิน 16 ภาคการศึกษาปกติหรือเทียบเท่า และต้องเรียนครบตามหลักสูตร

เกียรตินิยม

1. เกียรตินิยมทั้งอันดับ 1 และ 2 มีข้อกำหนดที่จะได้รับอย่างไรบ้าง
  1. สำหรับเกียรตินิยมอันดับ 1 ต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
    หมายเหตุ: ต้องไม่มีเกรด D หรือ D+ ในรายวิชาเอกบังคับและเอกเลือก และไม่มีเกรด F ในรายวิชาใดเลย
  2. สำหรับเกียรตินิยมอันดับ 2 โดยต้องได้เกรดเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.25 ขึ้นไป
    หมายเหตุ: ต้องไม่ติด F ในรายวิชาใดเลย

กิจกรรม

นักศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นผ่านทางเวปไซด์ตรวจสอบกิจกรรมนักศึกษา ถ้าพบความผิดปกติสามารถติดต่อที่กองกิจกรรมนักศึกษา

กิจกรรมลูกแม่ไทรจิตใจงาม เป็นกิจกรรมรับน้องแบบสร้างสรรค์ และถือเป็น กิจกรรมหลักบังคับที่นักศึกษาทุกคนจะต้องเข้าร่วม เพราะเป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการบัณฑิตในอุดมคติไทย ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัย เสริมสร้าง ความรักความสามัคคี และความภักดีต่อสถาบันการศึกษา

หมายเหตุ: ถ้าปีที่เข้าเป็นนักศึกษา น้องใหม่ไม่เข้าค่าย ลาค่าย ด้วยเหตุผลใด ๆ ภายใน 4 ปี ก่อนจบก็จะต้องกลับมาเข้าค่าย 1 ครั้ง